แบบฝึกหัดบทที่ 5


1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
                อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
                 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
                                1. การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
                                2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
http://www.gotoknow.org/posts/
              จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้   9 ประเภท ดังนี้
                                1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
                                2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
                                3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
                                4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
                                5. การฟอกเงิน
                                6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
                                7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
                                8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
                                9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง
                ตัวอย่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
                1. Morris Case
                                การเผยแพร่หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) โดยนายโรเบิร์ต ที มอริส 
                                นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
                              หนอน (worm) สามารถระบาดติดเชื้อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว; ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา โดยให้บริการสังคมเป็นเวลา  400 ชั่วโมง และปรับเป็นเงิน 10,050 ดอลลาร์สหรัฐ
                2. Digital Equipment case
                                เดือนธันวาคม ค.ศ.1980 เครือข่ายของบริษัท Digital Equipment Corporation ประสบปัญหาการทำงาน โดยเริ่มจากบริษัท U.S Leasing
                                - คนร้ายโทร. ปลอมเป็นพนักงานคอมของ บริษัท Digital Equipment
                                - ขอเข้าไปในระบบ(Access)โดยขอหมายเลขบัญชีผู้ใช้ (Account Number) และรหัสผ่าน (password) ต่อมามีการตรวจสอบ มีการก่อวินาศกรรมทางคอมพิวเตอร์
                                * คอมพิวเตอร์พิมพ์ข้อความหยาบคาย เครื่องพิมพ์พิมพ์กระดาษเต็มห้อง
                                *ลบข้อมูลในไฟล์บริษัททิ้งหมด เช่น ข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง บเรียกเก็บเงิน
                3. การทุจริตในโรงพยาบาล และบางบริษัท
                                โดยการทำใบส่งของปลอมจากคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ ยักยอกเงินโรงพยาบาล 40,000 เหรียญโดยการทำใบส่งของปลอมที่กำหนดจากเครื่องคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ ควบคุมสินเชื่อ  จัดทำใบส่งของปลอม จากบริษัทที่ตั้งขึ้นปลอมโดยให้เช็คสั่งจ่ายบริษัทปลอมของตัวเองที่ตั้งขึ้น  สูงถึง 155,000 เหรียญ
                4. การทุจริตในบริษัทค้าน้ำมัน
                                พนักงานควบคุมบัญชี สั่งให้คอมพิวเตอร์นำเช็คจ่ายภรรยา แทนการจ่ายให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยการแก้ไขรหัสผู้รับเงิน
                5. การทุจริตในธนาคารของเนเธอร์แลนด์
                               ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ และผู้ช่วยถูกจับในข้อหายักยอกเงินธนาคารถึง 65 ล้านเหรียญ ภายใน 2 ปี โดยการแก้ไขรหัสโอนเงินที่สามารถโอนเงินผ่านคอมพิวเตอร์
 6. การทุจริตในบริษัทประกัน
                               เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินไหมทดแทนของบริษัท  ทำการทุจริตเงินของ บริษัทจำนวน 206,000 เหรียญ ในรอบ 2 ปี ใช้ความรู้เรื่องสินไหมทดแทน โดยใช้ชื่อผู้เสียหายปลอมแต่ใช้ที่อยู่ของตัวเองและแฟน

2.อธิบายความหมายของ
                1. Hacker หมาย ถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับ สูง จนสามารถสร้างแก้ไขและเจาะระบบ การทำงานของเครือข่ายหรือการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ได้โดยมีวัตถุประสงค์ในทางดี เช่นแก้ไชปรับแต่งโปรแกรม แก้ไขที่บกพร่องให้สมบูรณ์หรือดูแลรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพปราศจากการก่อกวนหรือถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี http://www.com5dow.com
                2. Cracker หมาย ถึง ผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับสูง จนสร้างและแก้ไขระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ Hacker แต่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ไม่ดี เช่น เจาะเข้าเครือข่ายของผู้อื่นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการขโมย password หรือข้อมูลสำคัญ เป็นต้น
http://www.clipmass.com/
                3. สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น http://th.wikipedia.org/
                4.ม้าโทรจัน คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ http://th.wikipedia.org/wiki
               5. Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย http://ccs.sut.ac.th/

3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ..บ มีอะไรบ้าง อธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
                          พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้การกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษไว้ ในหมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  
3.1.การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
                มาตรา ๕ ผู้ ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรกา รป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้ สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                องค์ประกอบความผิดประการแรก คือ การเข้าถึงตามเอกสารชี้แจงของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกร รมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้อธิบายประกอบเสนอร่างกฎหม ายต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉ บับนี้ ให้ความหมายว่า การเข้าถึงตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “access” หมาย ถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ เช่น กรณีที่มีการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่ นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ ได้รหัสผ่านนั้นมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้ นได้โดยนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเข้า ถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ แม้ตัวบุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่อ งคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ที่ตนต้องการได้
นอกจากนั้นยังหมายถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข ้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ๙
                ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรื อโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง เช่นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 
 3.2.การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยมิชอบ
                มาตรา ๖ ผู้ ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร ์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                องค์ประกอบความผิดมาตรา ๖ นี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย กล่าวคือประกอบด้วย
                (๑) ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ หมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีมาตรการการเข้าถึง เช่นมีการลงทะเบียน username และ password หรือมีวิธีการอื่นใดที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะ การที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ กระทำล่วงรู้ ซึ่งการล่วงรู้นั้นจะได้มาโดยชอบหรือไม่ชอบไม่สำคัญ
                (๒) เปิดเผยโดยมิชอบ หมายความว่าเพียงแต่นำมาตรการนั้นเปิดเผยแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือหลายคนก็เข้าองค์ประกอบความผิดแล้ว เมื่อเปิดเผยแล้วผู้ใดจะทราบหรือนำไปใช้หรือไม่ ไม่สำคัญ
                (๓) ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นองค์ประกอบความผิดอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาด ้วยว่าการเปิดเผยนั้นอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเส ียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่ หากเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำให้ผู้ใดเสียหายก็ไม่มีคว ามผิด
                (๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙  ถ้าผู้กระทำไม่มีเจตนาย่อมไม่มีความผิด เช่นเป็นเพียงประมาททำให้มีการเปิดเผยมาตรการการเข้า ถึงย่อมไม่ผิดเพราะขาดเจตนา ๑๑
3.3. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ 
                มาตรา ๗ ผู้ ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตร การป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไ ว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                องค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๗ ตรงกับองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๕ เพียงแต่เปลี่ยนจาก ระบบคอมพิวเตอร์เป็น ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงต้องพิจารณานิยามศัพท์คำว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งอธิบายไว้ในบทที่ ๑ แล้ว ที่ต้องพึงระลึกก็คือว่า เจตนารมณ์ของการบัญญัติความผิดฐานเข้าถึงข้อมูลคอมพิ วเตอร์โดยมิชอบ ซึ่งหมายถึงข้อมูลนั้นเป็นการเก็บหรือส่งด้วยวิธีการ ทางคอมพิวเตอร์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงไม่น่าจะหมายความรวมถึงข้อมูลที่บรรจุไว้ใ นแผ่นซีดี หรือแผ่นดิสเกตต์ อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่มีการนำซีดีหรือแผ่นดิสเกตต์นเล่นผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ก็จะอยู่ในความหมายของข้อ มูลคอมพิวเตอร์ทันที 
3.3.การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
                มาตรา ๘ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็ก ทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
3.4.การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานตามปกติได้
                มาตรา ๑๐ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               ความผิดตามมาตรา ๑๐ นี้ มีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบความผิดคล้ายคลึงกับมาตร า ๙ เพียงแต่เปลี่ยนวัตถุแห่งการถูกกระทำจาก ข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็น ระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบความผิด คือ
-                   กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ
-                   มีเจตนาพิเศษเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ http://www.thaigaming.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น